วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


           
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว






พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายนพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมพ.ศ. 2484(ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา
          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่ทรงมีพระราชโอรสบุญธรรม คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต




พระราชประวัติ
     การศึกษา
          เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาพอสมควรทรงเข้ารับการศึกษาตามประเพณีขัตติยราช กุมาร และจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ ต่อมา ครั้นทรงโสกันต์แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่ง เป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหาร (Royal Military Academy Council) ณ เมืองวูลิช ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม ศพ และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ด้วยการประคองพระบรมโกศคู่กับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะเชิญพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศ  แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2456ภายหลังทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษอยู่ที่เมืองอัลเดอร์ชอต (Aldershot) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (Army Council) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” Battery Royal Horse Artillery ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโทและนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์
          ในปี พ.ศ. 27 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น ในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังไม่สำเร็จศึกษาวิชาการทหาร หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่ บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก



สวรรคต
          หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่พระองค์ทรงพระประชวรอยู่เนื่อง ๆ อันเนื่องมาจากพระพลนามัยของพระองค์ไม่ทรงแข็งแรงมาตั้งแต่พระเยาว์ โดย พ.ศ. 2480 พระองค์ทรงพระประชวรมากด้วยโรคตัวบิดเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 248 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมายุ 47 พรรษา
          สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงจัดการพระบรมศพเป็นการภายในโดยอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระตำหนักคอมพ์ตัน โดยรัฐบาลอังกฤษได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษในการประดิษฐานพระบรมศพเป็นเวลา 4 วันซึ่งตามปกติจะอนุญาตเพียงวันเดียว เพื่อให้ประยูรญาติที่อยู่ห่างไกลมาถวายบังคมลาเป็นครั้งสุดท้าย การจัดการพระบรมศพนั้นเป็นไปอย่างเงียบ ๆ โดยไม่มีการบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระพุทธศาสนาเพราะไม่มีพระสงฆ์ รวมทั้ง ไม่มีการพระราชพิธีอื่น ๆ ตามราชประเพณีด้วย
          หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นที่พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตามราชประเพณี โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
พระราชกรณียกิจ
      ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม
         ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรมในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับ เด็ก ส่วนการศึกษาในพระพุทธศาสนานั้น โปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎก เรียกว่า ฉบับสยามรัฐ โดยหนึ่งชุดมีจำนวน 45 เล่ม เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
          ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น พระองค์ทรงสถาปนาราชบัณฑิตย์สภาขึ้น (เดิมคือ กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร) เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ เป็นอย่างมาก เช่น การตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
         ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
          ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระวิหาร
         ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว โปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์ เดียว

          นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่าย ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์ หนึ่ง นอกจากนี้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น นับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ

    ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโงเรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 ที่ กำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้ง สองฝั่งน้ำโขง แทนที่ จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว

พระราชลัญจกร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น